กิจกรรมที่ทำในวันกองทัพไทย
กิจกรรมที่จะกระทำในวันกองทัพไทย คือ
- พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล หรือที่เรียกว่า "สวนสนามสาบานธง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์สำหรับทหาร และเป็นการระลึกถึงวีรกรรม
- ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นส่วนพระราชกุศลและกุศลแก่บรรพบุรุษ
- ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
- จัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับความเป็นมาของความกล้าหาญแห่งวีรกษัตริย์ไทย และวันกองทัพไทย
ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นคนไทย เกิดบนแผ่นดินไทย เราทุกคนจึงควรตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มั่นทำความดีและดูแลบ้านเมืองให้สงบสุข และที่สำคัญที่สุดคือควรสามัคคี เพื่อที่เราจะได้อยู่กันอย่างสงบ และเพื่อตอบแทนพระคุณของพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยของเราให้ได้อยู่มาจน ถึงทุกวันนี้
กิจกรรมที่จะกระทำในวันกองทัพไทย คือ
- พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล หรือที่เรียกว่า "สวนสนามสาบานธง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์สำหรับทหาร และเป็นการระลึกถึงวีรกรรม
- ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นส่วนพระราชกุศลและกุศลแก่บรรพบุรุษ
- ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
- จัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับความเป็นมาของความกล้าหาญแห่งวีรกษัตริย์ไทย และวันกองทัพไทย
ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นคนไทย เกิดบนแผ่นดินไทย เราทุกคนจึงควรตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มั่นทำความดีและดูแลบ้านเมืองให้สงบสุข และที่สำคัญที่สุดคือควรสามัคคี เพื่อที่เราจะได้อยู่กันอย่างสงบ และเพื่อตอบแทนพระคุณของพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยของเราให้ได้อยู่มาจน ถึงทุกวันนี้
ความหมายของยุทธหัตถี
ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์มาแต่โบราณกาล ถือเป็นความเชื่อมาแต่โบราณว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างนั้น เป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว จะแพ้หรือชนะก็ขึ้นอยู่กับความเก่งกล้า ว่องไว รวมถึงความชำนาญในการขี่ช้าง ดังนั้น เมื่อกษัตริย์พระองค์ใดทำยุทธหัตถีชนะ ก็จะได้รับการยกย่องว่ามีพระเกียรติยศสูงสุด หรือแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบที่แท้จริง นอกจากนี้ในสมัยอยุธยา มีการทำยุทธหัตถี รวม 3 ครั้ง คือ
ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์มาแต่โบราณกาล ถือเป็นความเชื่อมาแต่โบราณว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างนั้น เป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว จะแพ้หรือชนะก็ขึ้นอยู่กับความเก่งกล้า ว่องไว รวมถึงความชำนาญในการขี่ช้าง ดังนั้น เมื่อกษัตริย์พระองค์ใดทำยุทธหัตถีชนะ ก็จะได้รับการยกย่องว่ามีพระเกียรติยศสูงสุด หรือแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบที่แท้จริง นอกจากนี้ในสมัยอยุธยา มีการทำยุทธหัตถี รวม 3 ครั้ง คือ
- ครั้งแรก ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งพระอินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์
- ครั้งที่สอง ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี การทำยุทธหัตถีในครั้งนั้นส่งผลให้สมเด็จพระศรีสุริโยทัยต้องสิ้นพระชนม์
- ครั้งที่สาม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีในครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่ เลื่องลือไปไกล
บทบาทของกองทัพไทย
เนื่องในวันที่ 18 มกราคม ถือเป็นวันกองทัพไทยด้วยอีกหนึ่งวัน เราจึงควรทราบถึงบทบาทของกองทัพไทยซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญต่อประเทศมากมาย ล้วนแต่เป็นหน้าที่ที่สำคัญต่อประเทศชาติ ดังนี้
- การป้องกันประเทศ
กองทัพไทยได้จัดทำแผนการป้องกันประเทศไว้สำหรับรับสถานการณ์จากภัยคุกคามทุก ด้าน และจัดให้มีการฝึกกองทัพไทยทุกปี รวมถึงมีการจัดเตรียมกำลังรบพร้อมปฏิบัติการตามแผนตั้งแต่ยามปกติและยาม คับขัน รวมทั้งแก้ปัญหาผู้อพยพและผู้ที่หลบหนีเข้าเมือง
- การรักษาความมั่นคงภายใน
กองทัพไทยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมถึงปฏิบัติการด้านการข่าวเพื่อให้ได้ความร่วมมือจากประชาชนในการให้ข่าว สารกับทางราชการ และปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน
- การรักษาผลประโยชน์ของชาติ
กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า รักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเล ช่วยแหลือผู้ประสบภัย และบรรเทาสาธารณภัย
- การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
กองทัพไทยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน รวมถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไว้
- การพัฒนาประเทศ
การพัฒนาประเทศของกองทัพไทยนั้น คือการกำหนดแผนการปฏิบัติงานประจำปีของแต่ละหน่วย โดยใช้กำลังพลและงบประมาณของกองทัพในการดำเนินการ รวมถึงสนับสนุนภาครัฐและเอกชนตามโครงการพัฒนาประเทศ และพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ
ที่มา K@Pook https://hilight.kapook.com/view/55367
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น